เกร็ดความรู้เรื่องฝุ่น > ห้องคลีนรูม/มาตรฐานคลีนรูม > ชื่อเรียกคลาสคลีนรูม
สำหรับผู้ที่ต้องการความรู้เพิ่มเติม!! ทางเรามีบริการจัดอบรม ให้ความรู้เรื่องฝุ่น และวิธีการจัดการกับฝุ่นอย่างละเอียด ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่ได้เผยแพร่บนเวปไซต์ ทั้งยังมีภาพและวิดิโอประกอบเพื่อความเข้าใจง่าย จัดอบรมเรื่องฝุ่น เพื่อให้หาทาง จัดการกับฝุ่นได้อย่างได้ผล sale1@csc-biz.com
TEL: 081-347-8037 |
ชื่อเรียกคลาสคลีนรูม
มาตรฐาน FED-STD-209D นี้ตั้งชื่อคลาสของคลีนรูมโดยดูเกณฑ์ของฝุ่นขนาด 0.5 ไมครอนในอากาศปริมาตร 1 ลูกบาศก์ฟุต ซึ่งก็คือ ห้องคลีนรูมคลาส 100 คือ ห้องคลีนรูมที่มีฝุ่นขนาด 0.5 ไมครอนขึ้นไปได้ไม่เกิน 100 ชิ้น หากมีจำนวนเกิน 100 ชิ้น แต่ไม่เกิน 1000 ชิ้น ก็จะจัดว่าเป็นคลาส 1000 ต่อมาเมื่อ ISO ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ได้จัดทำมาตรฐานคลีนรูมขึ้นมา ชื่อว่า ISO 14644 โดยใช้หลักเกณฑ์แบบเดียวกับมาตรฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า JIS 9920 (Japanese Industrial Standards) คือ ดูเกณฑ์ของฝุ่นขนาด 0.1 ไมครอนในอากาศปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร และตั้งชื่อคลาสจากเลขยกกำลัง 10 ของเกณฑ์นั้นๆ เช่น ห้องคลีนรูมคลาส 1 คือจะมีฝุ่นขนาด 0.1 ไมครอนขึ้นไปในอากาศปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตรได้ไม่เกิน 10 ชิ้น (มาจากเลขยกกำลัง 101) ห้องคลีนรูมคลาส 5 คือมีฝุ่นขนาด 0.1 ไมครอน ได้ไม่เกิน 100,000 ชิ้น (มาจาก 105) เป็นต้น ※ 1 ไมครอน มีขนาดใหญ่เท่าไร และตาคนเราสามารถมองเห็นได้ที่กี่ไมครอน
|
||
เมื่อดูแล้ว จะสังเกตได้ว่า มาตรฐานคลีนรูม ทั้ง FED-STD-209D และ ISO 14644 นี้ จะกำหนดเกณฑ์ของฝุ่นขนาดใหญ่สุดไว้ถึงแค่ขนาด 5 ไมครอน ซึ่งในหน้างานจริง เช่น ในกระบวนการพ่นสีรถยนต์ ที่พยายามควบคุมความสะอาดให้อยู่ในระดับคลาส 100,000 ฝุ่นขนาด 5 ไมครอน ไม่ได้ส่งผลต่องานของผู้ผลิตเลย ขนาดของฝุ่นที่ต้องระวังส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นที่มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เช่น ขนาด 100 ไมครอนขึ้นไป ซึ่งฝุ่นที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ เครื่องมือวัดฝุ่นในอากาศ Particle Counter จะวัดไม่ค่อยได้ (เพราะเครื่องมือนี้มักจับได้เฉพาะฝุ่นขนาดเล็ก) ดังนั้น ถึงแม้จะวัดห้องคลีนรูมด้วย Particle Counter แล้วไม่เจอฝุ่น ก็อย่าได้นิ่งนอนใจไป เพราะไม่ได้หมายความว่า ในห้องจะไม่มีฝุ่นขนาดใหญ่ Particle Counter เครื่องมือสำหรับใช้วัดปริมาณฝุ่นในอากาศเพื่อระบุคลาสคลีนรูม รายละเอียด Particle Counter ⇒ แต่ Particle Counter จะวัดฝุ่นเพียงแค่ในระยะเวลาหนึ่งๆเท่านั้น หากต้องการดูจำนวนฝุ่นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ต้องใช้ Particle Sensor Box ซึ่งสามารถบอกอุณหภูมิและความชื้น ทั้งยังบันทึกข้อมูลลง SD Card ไปเปิดดูในคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย หลักการทำงานและความแตกต่างระหว่าง Particle Counter กับ Particle Sensor ทำไมห้องคลีนรูมถึงจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น? วิธีการวัดฝุ่นในห้องคลีนรูมเวลาวัดฝุ่นในห้องคลีนรูมเพื่อระบุคลาส จะสามารถวัดได้ 3 ช่วงเวลา1) As Built ตอนสร้างเสร็จใหม่ๆ 2) At Rest ตอนติดตั้งเครื่องจักรเสร็จ (ไม่มีคน) 3) Operational ตอนเริ่มผลิต มีคน จะเอาช่วงไหนก็ได้ แล้วแต่เจ้าของห้องจะระบุ และจะดูฝุ่นขนาดไหนก็ได้ แล้วแต่เจ้าของห้องจะระบุเช่นกัน มาตรฐานการวัดฝุ่นบนผิววัตถุในปัจจุบัน การสร้างห้องคลีนรูมเป็นไปอย่างแพร่หลายมากขึ้น จากที่เคยทำกันเฉพาะในสายงานเซมิคอนดักเตอร์ก็ได้แพร่ขยายไปยังสายงานอื่นๆ และสายงานที่เฝ้าระวังเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ก็มีเพิ่มมากขึ้น ทางสมาคมการกรองอากาศของญี่ปุ่น (JACA: Japan Air Cleaning Association)ได้ออกมาตรฐาน SPC(Surface Particular Cleanliness)ไว้ใน JACA №42-2006 โดยจะแบ่งคลาสระดับความสะอาดบนผิววัตถุออกเป็น Class 1-8 โดยดูปริมาณฝุ่นขนาด 0.05 - 500 ไมครอน ในพื้นที่ 1 ตร.ม.(แต่เวลาตรวจวัดจริง ดูฝุ่นแค่ในพื้นที่ 100ตร.ซม. หรือคิดเป็น 0.01ตร.ม.ก็พอ)เช่น SPC Class 1 จะกำหนดเกณฑ์ตามขนาดของฝุ่นไว้ ดังนี้ ฝุ่นขนาดตั้งแต่ 0.05 ไมครอนขึ้นไป ห้ามมีเกิน 200 ชิ้น ฝุ่นขนาดตั้งแต่ 0.1 ไมครอนขึ้นไป ห้ามมีเกิน 100 ชิ้น ฝุ่นขนาดตั้งแต่ 0.2 ไมครอนขึ้นไป ห้ามมีเกิน 50 ชิ้น ฝุ่นขนาดตั้งแต่ 0.5 ไมครอนขึ้นไป ห้ามมีเกิน 20 ชิ้น ฝุ่นขนาดตั้งแต่ 1 ไมครอนขึ้นไป ห้ามมีเกิน 10 ชิ้น ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. ที่เครื่อง RACCAR (Coarse Particle Counter)จะมีช่องบอกจำนวนฝุ่นที่คิดเป็น ตร.ม. เมื่อดูจำนวนฝุ่นในช่อง ฝุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 ไมครอน (ช่องสีแดง) จะเห็นว่าบนแผ่นเก็บตัวอย่างฝุ่นมีฝุ่น 13 ชิ้น และวงเล็บข้างๆมีเขียนไว้ว่า 2.59e3ชิ้น /m2 นั้นหมายถึง 2,590 ชิ้น ต่อ ตร.ม. ถ้าเทียบกับ SPC Class 5 ซึ่งได้กำหนดว่า ห้ามมีฝุ่นขนาดตั้งแต่ 100 ไมครอนขึ้นไปเกิน 1,000 ชิ้น ก็จะถือว่าไม่ผ่าน แต่ถ้าเทียบกับ SPC Class 6 ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า ห้ามมีฝุ่นขนาดตั้งแต่ 100 ไมครอนขึ้นไปเกิน 10,000 ชิ้น ก็จะถือว่าผ่าน ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่าจุดที่เก็บข้อมูลมานี้มีระดับความสะอาดบนผิววัตถุในระดับ SPC Class 6 และเมื่อปี 2012 ทาง ISO ก็ได้ออกมาตรฐานแบบเดียวกัน เพิ่มเข้าไปใน ISO 14644 ในส่วนที่ 9 โดยใช้หัวข้อ Classification of surface cleanliness by particle concentration หรือเขียนย่อๆว่า ISO 14644-9:2012 ตรวจดูฝุ่นภายในห้องคลีนรูมด้วยอุปกรณ์ของซีเอสซี!!E-mail: sale1@csc-biz.com Tel: 081-347-8037, 086-031-9898 วิธีการรักษาระดับคลาสคลีนรูมให้ได้ตามเป้าหมายนั้น สำคัญอยู่ที่การกรองฝุ่นในอากาศออกซึ่งเราสามารถทำได้โดยการสร้างคลีนบูธ หรือคลีนเบนช์ ติดชุดพัดลมกรองอากาศ ซึ่งใช้ HEPA ฟิลเตอร์ช่วยกรองฝุ่นในอากาศขนาด 0.3ไมครอนออกได้ถึง 99.99%หรือติดผ้ากระจายลมไว้ที่ช่องป้อนอากาศเข้าห้องคลีนรูม จะช่วยกระจายลมสะอาดไปได้ทั่วห้องคลีนรูม ลดฝุ่นในอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เรายังมีพาร์ทิชั่นฟอกอากาศ สำหรับกรองสิ่งสกปรกออกจากอากาศก่อนจะป้อนเข้าสู่บริเวณที่ต้องระวังฝุ่นได้ เหมาะสำหรับติดตั้งไว้ในห้องคลีนรูม หรือห้องตรวจโรค, เตียงผู้ป่วยในคลินิกหรือโรงพยาบาล |
ตัวอย่างอุปกรณ์ลดฝุ่นในห้องคลีนรูม |
|||
Copyright (C) 2012 CSC Co,ltd. All Rights Reserved.