สำหรับผู้ที่ต้องการความรู้เพิ่มเติม!!
ทางเรามีบริการจัดอบรม
ให้ความรู้เรื่องฝุ่น และวิธีการจัดการกับฝุ่นอย่างละเอียด
ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่ได้เผยแพร่บนเวปไซต์ ทั้งยังมีภาพและวิดิโอประกอบเพื่อความเข้าใจง่าย
จัดอบรมเรื่องฝุ่น
เพื่อให้หาทาง
จัดการกับฝุ่นได้อย่างได้ผล
sale1@csc-biz.com
TEL: 081-347-8037
|
ห้องคลีนรูมและมาตรฐานคลีนรูม
ห้องคลีนรูม คือ ห้องที่มีระบบอากาศแบบพิเศษ เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นในอากาศมิให้มีเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
ซึ่งห้องคลีนรูมนี้ นิยมใช้กันในวงการที่ต้องระมัดระวังเรื่องฝุ่น หรือเชื้อโรคเป็นพิเศษ
เช่น โรงพยาบาล, โรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหารและยา, โรงงานผลิตชิ้นส่วนและชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์
เช่น เซมิคอนดักเตอร์, โรงงานพ่นสีรถยนต์, โรงงานผลิตเลนส์ ฯลฯ เพราะในอุตสาหกรรมเหล่านี้
มีฝุ่นเป็นศัตรูตัวร้ายที่อาจทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ เช่น ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์
หากมีฝุ่นมาเกาะบนแผงวงจรไฟฟ้า ก็อาจทำให้แผงวงจรนั้นๆเกิดช็อตเสียหายได้
หรือถ้าเป็นอุตสหกรรมพ่นสี เวลาที่พ่นสีทับลงไปบนฝุ่น ก็ทำให้เกิดสีปูดกลายเป็นงานเสียเช่นกัน
|
|
|
โดยที่ห้องคลีนรูมที่ต้องระวังในเรื่องเชื้อโรค เช่น ห้องคลีนรูมในโรงพยาบาล, โรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์, โรงงานยา, โรงงานผลิตอาหาร หรือห้องทดลองที่เกี่ยวข้อง
จะเรียกว่า BCR (Biological Clean Room) ส่วนห้องคลีนรูมอื่นๆที่ระวังเฉพาะเรื่องฝุ่นเพื่อไม่ให้เกิดงานเสีย เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ จะเรียกว่า ICR (Industrial Clean Room)
ห้องคลีนรูมนั้น มีหลายแบบ และหลายระดับ แล้วแต่ว่าหน้างานนั้นๆต้องระวังฝุ่นที่มีขนาดเล็กเพียงไร
ยิ่งโรงงานที่ผลิตชิ้นงานที่ต้องระวังฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก ยิ่งจำเป็นต้องสร้างห้องคลีนรูมที่รักษาความสะอาดได้ดีมาก
(คือ ไม่ปล่อยให้มีฝุ่นขนาดเล็กตกค้างอยู่ในห้องได้)
ห้องคลีนรูมมีแบบ Positive Pressure และ Negative Pressure ห้องคลีนรูมแบบ Positive Pressure จะใช้ในหน่วยงานที่ต้องการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าห้อง เช่น ในสายงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ทำโดยป้อนอากาศเข้าไปให้ความดันภายในห้องเป็น Positive Pressure (คือ ความดันภายในห้องนั้นๆ สูงกว่าห้องข้างเคียง) เพื่อป้องกันมิให้อากาศจากภายนอกไหลเข้ามาในห้อง
เพราะอากาศจากภายนอกอาจนำสิ่งแปลกปลอมเข้ามาได้ และห้องคลีนรูมจะมีระบบให้อากาศพาฝุ่นออกจากห้องไปได้โดยง่าย
เช่น ทำพื้นเป็นตะแกรง หรือมีช่องสำหรับให้ลมออก ซึ่งในกรณีทำเป็นช่อง มักมีการติด Pressure Damper
(บานควบคุมแรงดันอากาศ ซึ่งมีวิธีการทำงาน คือ เมื่อภายในห้องมีแรงดันอากาศสูง อากาศก็จะผลักบาน Damper นี้ให้เปิดออก
แต่พอความดันภายในห้องต่ำ บานนี้ก็จะปิดลง เป็นการป้องกันมิให้ฝุ่นจากภายนอกเข้ามาได้)
ส่วนห้องคลีนรูมแบบ Negative Pressure จะใช้กับห้องที่เกี่ยวข้องกับเชื้่อโรคหรือสารเคมีอันตรายที่จำเป็นต้องป้องกันมิให้แพร่ระบาดออกไปภายนอก
ห้องคลีนรูมชนิดนี้จะสร้างความดันภายในห้องให้เป็น Negative (คือ ความดันภายในห้องต่ำกว่าห้องข้างเคียง)
ตัวอย่าง Pressure Damper
|
เราสามารถตรวจดูว่าในห้องนั้นๆเป็น Positive Pressure หรือ Negative pressure ได้โดยใช้ละอองน้ำดูทิศทางการไหลของกระแสลม เพราะลมจะไหลจากที่ที่มีความดันสูงไปยังความดันต่ำ |
ตัวอย่างองค์ประกอบของห้องคลีนรูม
|
|
ห้องคลีนรูมที่ต้องระวังความสะอาดมากเป็นพิเศษ จำเป็นต้องกำหนดให้พนักงานสวมชุดคลีนรูม,
สวมหมวกคลุม, สวมถุงมือ, สวมหน้ากาก ปกปิดร่างกายให้มิดชิด เพื่อป้องกันมิให้ฝุ่นจากตัวพนักงานตกลงไปยังชิ้นงานซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้ชิ้นงานเสียหายได้ รวมถึงการใช้อุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ก่อให้เกิดฝุ่น เช่น กระเป๋า, สมุดโน้ตหรือกระดาษ แบบไม่สร้างฝุ่น เป็นต้น
ส่วนในเรื่องของการทำความสะอาด ก็จะใช้แบบที่ทำมาสำหรับห้องคลีนรูมเช่นกัน เช่น เครื่องดูดฝุ่นสำหรับห้องคลีนรูม, ผ้าเช็ดแบบไม่สร้างฝุ่น, ลูกกลิ้งแบบไม่สร้างฝุ่น เป็นต้น
|
เครื่องดูดฝุ่นสำหรับห้องคลีนรูม
ภายในเครื่องจะมี Filter สำหรับกรองฝุ่นขนาดเล็ก (ULPA Filter กรองฝุ่นขนาด
0.1 - 0.2ไมครอนได้ 99.99%) ติดไว้เพื่อป้องกันมิให้ฝุ่นเล็ดลอดออกมาพร้อมลมที่ปล่อยออกมา
- ตัวเครื่องจะมีทั้งแบบขนาดใหญ่ และขนาดเล็กสำหรับพกพา |
|
|
ผ้าเช็ด สำหรับห้องคลีนรูม
ผ้ามีหลายประเภท ควรเลือกให้เหมาะกับชิ้นงานและสิ่งสกปรกที่ต้องการเช็ด ซึ่งการทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดนี้ มีโอกาสที่ฝุ่นจะฟุ้งกระจายน้อย และเป็นวิธีการทำความสะอาดที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง
แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิธีเช็ดด้วย ควรเช็ดอย่างถูกวิธี เช็ดทำความสะอาดไปในทางเดียง จากบนลงล่าง และไม่เช็ดวนไปวนมา
ดูรายละเอียดผ้าเช็ดเพิ่มเติมได้ที่ |
|
|
ลูกกลิ้ง Roller
ไม่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย
- ใช้กลิ้งทำความสะอาดชิ้นงาน
- ทำความสะอาดโต๊ะ, ผนัง, พื้น, เพดาน
- ใช้กลิ้งบนชุดคลีนรูม ลดฝุ่นที่ติดอยู่บนตัวพนักงาน
- ใช้กลิ้งบนชุดคลีนรูม ลดฝุ่นที่ติดอยู่บนตัวพนักงาน
- ใช้ทำความสะอาดถุงมือ ดูรายละเอียดผ้าเช็ดเพิ่มเติมได้ที่
|
|
|
และที่ห้องคลีนรูมหลายแห่ง จะมีการติดตั้ง "แอร์ ชาวเวอร์"(Air
Shower:ห้องเป่าลมขจัดฝุ่น) ไว้ที่ทางเข้าห้องคลีนรูม เพื่อเป่าฝุ่นออกจากตัวคนก่อนที่จะเข้าห้องคลีนรูม
ลดฝุ่นที่จะติดตัวคนเข้าห้องคลีนรูม สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับแอร์ชาวเวอร์เพิ่มเติมได้ที่
|
|
วัตถุประสงค์ของการใช้ห้องคลีนรูม
- เพื่อป้องกันฝุ่นที่เป็นตัวต้นเหตุให้เกิดงานเสีย
- ประหยัดค่าใช้จ่ายอันเกิดจากงานเสีย
- ประหยัดเวลาและแรงงาน ที่ต้องหมดไปกับการผลิตและการจัดการกับงานเสีย
- เมื่องานเสียลดลง ปริมาณงานที่ผลิตได้ก็จะสูงขึ้น กำลังใจของพนักงานก็จะสูงขึ้นด้วย
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าของบริษัท
- สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
ข้อจำกัดของการใช้ห้องคลีนรูม
- ยิ่งเป็นคลีนรูมที่มีคลาสสูงและขนาดใหญ่ขึ้นเท่าไร ค่าก่อสร้าง, การบำรุงรักษา,
ค่าไฟขณะใช้งาน ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
⇒ วิธีแก้: สร้างคลีนรูมขนาดเท่าที่จำเป็น หรือใช้คลีนบูธ หรือคลีนเบนช์ เฉพาะในจุดที่จำเป็น
- เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ ฝุ่นเริ่มสะสมมากขึ้น
⇒ วิธีแก้: หมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ และอบรมพนักงานให้ใส่ใจระวังเรื่องฝุ่น
มาตรฐานคลีนรูมที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน คือ มาตรฐาน ISO 14644 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล
มาตรฐาน ISO 14644 มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Cleanrooms and associated controlled environments เนื้อหาแบ่งออกเป็น 9 ส่วน ดังนี้
Part 1 |
Classification of air cleanliness by particle concentration |
ISO 14644-1:2015 |
Part 2 |
Monitoring to provide evidence of cleanroom performance related to air
cleanliness by particle concentration |
ISO 14644-2:2015 |
Part 3 |
Test methods |
ISO 14644-3:2005 |
Part 4 |
Design, construction and start-up |
ISO 14644-4:2001 |
Part 5 |
Operations |
ISO 14644-5:2004 |
Part 6 |
Vocabulary |
ISO 14644-6:2008 |
Part 7 |
Separative devices (clean air hoods, gloveboxes, isolators and mini-environments) |
ISO 14644-7:2004 |
Part 8 |
Classification of air cleanliness by chemical concentration |
ISO 14644-8:2013 |
Part 9 |
Classification of surface cleanliness by particle concentration |
ISO 14644-9:2012 |
Part 10 |
Classification of surface cleanliness by chemical concentration |
ISO 14644-10:2013 |
* ตารางแบ่งคลาสคลีนรูม จะอยู่ใน ISO 14644-1 ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อปี 1999 และปรับปรุงใหม่เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2015
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตารางการแบ่งคลาสคลีนรูมก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากมาย เพียงแต่ยกเลิกเกณฑ์ฝุ่นที่ดูไม่สมเหตุสมผลเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังยกเลิกข้อกำหนดที่ว่า "หากตรวจวัดที่จุดเดียว จำเป็นต้องวัด 3 ครั้งขึ้นไป"
และมีการระบุชัดเจนว่า ขนาดพื้นที่กี่ตารางเมตร ต้องวัดอย่างน้อยกี่จุด
|
วิธีการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของคลีนรูมที่ระบุอยู่ในมาตรฐาน ISO 14644-3
- B1 Airborne Particle Count (for classification)
- B2 Ultrafine Particle Count (for characterisation)
- B3 Macro Particle Count (for characterisation)
- B4 Airflow Test
- B5 Pressure Difference Test
- B6 Installed Filter Leakage Test
- B7 Flow Visualisation
- B8 Airflow Direction Test
- B9 Temperature Test
- B10 Humidity Test
- B11 Electrostatic & Ion Generator Test
- B12 Particle Deposition Test
- B13 Recovery Test
- B14 Containment Leak Test
Particle Counter
|
B1 Airborne Particle Count คือการวัดปริมาณฝุ่นในอากาศเพื่อระบุระดับความสะอาดของห้องคลีนรูมนั้นๆ (for classification) ระดับความสะอาดตามมาตรฐาน ISO 14644-1 นั้นจะแบ่งออกเป็น 9 ระดับ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คลาส (Class) ห้องคลีนรูมที่สะอาดมากจะเป็น คลาส 1 แล้วไล่ลำดับไปถึงห้องคลีนรูมที่มีความสะอาดน้อยคือ คลาส 9
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัด ได้แก่ Particle Counter ซึ่งใช้สำหรับวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาด
0.1-5 ไมครอนในอากาศ
ดูรายละเอียดเรื่องคลาสของคลีนรูมได้ที่
|
RACCAR
(Coarse Particle Counter)
|
RACCAR (Coarse Particle Counter) เครื่องมือวัดฝุ่นขนาดใหญ่ที่ตกลงบนพื้นผิว สามารถใช้ในการวัดฝุ่นเพื่อแบ่งคลาสตามมาตรฐาน ISO 14644-9 (ประกาศใช้ตั้งแต่ปี2012)ซึ่งดูระดับความสะอาดของห้องคลีนรูมจากปริมาณฝุ่นที่ตกลงมาบนพื้นผิว
|
Mist Stream |
B7 Flow Visualisation และ B8 Airflow Direction Test คือ การตรวจสอบทิศทางของกระแสลม สามารถใช้เครื่องสร้างละอองน้ำ Mist Stream ในการตรวจสอบได้
เครื่อง Mist Stream ใช้น้ำกลั่น จึงไม่ต้องกังวลว่าจะสร้างฝุ่นในห้องคลนรูม นอกจากนี้ ยังมีขนาดกะทัดรัด ยกเคลื่อนย้ายสะดวก และสามารถปรับปริมาณละอองน้ำตามต้องการได้
|
นอกจากคลีนรูมแล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งมีหลักการเดียวกันคือ ป้อนอากาศสะอาดเข้าไป เพื่อให้ฝุ่น ณ ที่นั้นเจือจางลง
ได้แก่ คลีนบูธ ซึ่งก็คือ ห้องคลีนรูมขนาดย่อม และ คลีนเบนช์ คือ ตู้ที่มีระบบสร้างอากาศสะอาด
|
พัดลมกรองอากาศ
หรือ ที่เรียกกันว่า FFU (Fan Filter Unit) เป็นพัดลมที่ติด HEPA Filter ซึ่งมีคุณสมบัติกรองฝุ่นขนาด
0.3 ไมครอนได้ 99.97% ทำหน้าที่ป้อนอากาศสะอาดเข้าไปในห้องคลีนรูม, คลีนบูธ
หรือตู้คลีนเบนช์ซึ่ง Filterนี้ เราสามารถเปลี่ยนเป็นชนิดที่ละเอียดขึ้น (ULPA
Filter) หรือ ชนิดที่หยาบขึ้น (MEPA Filter) แล้วแต่ลักษณะการใช้งาน และขนาดของฝุ่นที่ต้องระวัง
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ FFU เช่น การใช้งาน และผลการทดลองเพิ่มเติมได้ที่ |
นอกจากนี้ เรายังมีพาร์ทิชั่นฟอกอากาศ สำหรับกรองสิ่งสกปรกออกจากอากาศก่อนจะป้อนเข้าสู่บริเวณที่ต้องระวังฝุ่นได้
เหมาะสำหรับติดตั้งไว้ในห้องคลีนรูม หรือห้องตรวจโรค, เตียงผู้ป่วยในคลินิกหรือโรงพยาบาล
|
|
|
คลีนบูธ
ห้องที่กั้นทำเป็นคลีนรูมขนาดย่อม อาจสร้างไว้ในห้องธรรมดา หรือในห้องคลีนรูม สำหรับงานที่ต้องระวังเรื่องฝุ่นเป็นพิเศษ
ซึ่งการทำเป็นห้องคลีนรูมขนาดเล็กเช่นนี้ จะดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย และสามารถเคลื่อนย้าย, ต่อเติมได้ง่ายกว่าการสร้างเป็นห้องใหญ่ๆ
อีกทั้งอาจติด Air Shower ไว้ตรงทางเข้าได้อีกด้วย
|
|
|
|
คลีนเบนช์
คลีนรูมขนาดเล็กแบบตั้งโต๊ะ หรือตั้งพื้น ใช้สำหรับทำงาน หรือเก็บชิ้นงานที่ต้องระวังมิให้มีฝุ่นมาเกาะ คลีนเบนช์อย่างในภาพนี้เป็นคลีนเบนช์ที่มีขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน ผู้ใช้สามารถประกอบและเคลื่อนย้ายเองได้ การถอดเปลี่ยนฟิลเตอร์ก็สามารถทำเองได้ง่ายดาย
|
ตรวจดูฝุ่นภายในห้องคลีนรูมด้วยอุปกรณ์ของซีเอสซี!!
E-mail: sale1@csc-biz.com
Tel: 081-347-8037, 086-031-9898
|