เกร็ดความรู้เรื่องฝุ่น > ฝุ่นกับไฟฟ้าสถิต



















สำหรับผู้ที่ต้องการความรู้เพิ่มเติม!!
ทางเรามีบริการจัดอบรม
ให้ความรู้เรื่องฝุ่น และวิธีการจัดการกับฝุ่นอย่างละเอียด
ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่ได้เผยแพร่บนเวปไซต์ ทั้งยังมีภาพและวิดิโอประกอบเพื่อความเข้าใจง่าย


OUR SERVICE
จัดอบรมเรื่องฝุ่น
เพื่อให้หาทาง
จัดการกับฝุ่นได้อย่างได้ผล





sale1@csc-biz.com
TEL: 081-347-8037

ฝุ่นกับไฟฟ้าสถิต



ไฟฟ้าสถิต เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง
ที่มีส่วนทำให้ฝุ่นมาติดชิ้นงาน!!

ในห้องคลีนรูม โดยเฉพาะในวงการผลิตงานจำพวกอิเลคทรอนิกส์จะให้ความสำคัญในการป้องกันไฟฟ้าสถิตมากเป็นพิเศษ เพราะไฟฟ้าสถิตเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชิ้นงานเสียหาย โดยแบ่งรูปแบบการสร้างความเสียหายของไฟฟ้าสถิตออกกว้างๆได้ 2 แบบ คือ ESD (Electrostatic Discharge) กับ ESA (Electrostatic Attraction)

- ESD (Electrostatic Discharge) คือ การที่วัตถุที่มีไฟฟ้าสถิตเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า ทำให้เกิดไฟช็อต ดังเช่นตอนที่เอามือไปแตะลูกบิดประตู ในวันที่อากาศแห้ง
- ESA(Electrostatic Attraction) คือ การที่ไฟฟ้าสถิตสร้างแรงดึงดูดวัตถุเข้าหากัน
ในที่นี้ จะขออธิบายเน้นไปในเรื่องของ ESA(Electrostatic Attraction) ซึ่งสามารถดูตัวอย่างได้จากภาพเคลื่อนไหวข้างล่างนี้ ⇓

※ภาพเคลื่อนไหวนี้
เป็นตัวอย่างเป็นบางส่วน
ของวิดิโอที่เราถ่ายทำ
สำหรับใช้ในการอบรม
และเป็นบทเรียนให้
ความรู้แก่ผู้สมัครเรียน
ผ่านสื่อของเรา

ภาพการทดลองปล่อยฝุ่นใกล้ๆกับแผ่นพลาสติกใสที่มีไฟฟ้าสถิต(ประจุลบ)สูงอยู่ในช่วง 36-41kv: จะเห็นได้ว่าฝุ่นจำนวนมากโดนดูดเข้าหาแผ่นพลาสติก นั่นเป็นเพราะแรงดึงดูดจากไฟฟ้าสถิตนั่นเอง

การป้องกันไฟฟ้าสถิต เป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการลดฝุ่นมาติดชิ้นงาน

ทำไมไฟฟ้าสถิตถึงมีผลทำให้ฝุ่นมาติดชิ้นงาน??

ในสสารทุกชนิดจะประกอบด้วยหน่วยอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า อะตอม ซึ่งอะตอม จะประกอบด้วย โปรตอน(p), นิวตรอน(n), อิเลกตรอน(e-) โดยที่โปรตอน และ นิวตรอน จะประกอบกันเป็น นิวเคลียส อยู่ตรงกลาง และมี อิเลคตรอน วิ่งอยู่รอบๆ

โครงสร้างอะตอม
ซึ่งโปรตอนจะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก, นิวตรอนเป็นกลาง และอิเลกตรอนมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ โดยปกติ อะตอมจะอยู่ในสภาพที่เป็นกลาง (คือ มีประจุไฟฟ้าบวกและลบเท่าๆกัน) แต่เวลาที่เกิดการเหนี่ยวนำ, เสียดสี ฯลฯ จะเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า ทำให้ประจุไฟฟ้าในสสารเกิดการเสียสมดุล คือ มีประจุบวก หรือลบมากเกินไป จะเกิดเป็น ไฟฟ้าสถิต ซึ่งไฟฟ้าสถิตนี้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดอยู่เสมอๆโดยทั่วไป หากเป็นไฟฟ้าสถิตเพียงเล็กน้อย เราจะไม่ค่อยรู้สึก แต่หากไฟฟ้าสถิตที่มีปริมาณมาก ก็อาจเกิดประกายไฟ หรือทำให้วัตถุต่างๆเกิดการดึงดูด หรือผลักออกจากกันได้
ประจุไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า
ซึ่งการที่วัตถุดึงดูดเข้าหากันด้วยไฟฟ้าสถิตนี้เอง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฝุ่นมาติดชิ้นงาน

ไฟฟ้าสถิต
(ภาพด้านบนนี้เป็นภาพจำลอง ในกรณีที่ผิวชิ้นงานมีประจุไฟฟ้าขั้วบวกมากกว่าลบ และบนผิวฝุ่นมีประจุไฟฟ้าขั้วลบมากกว่าขั้วบวก)
ตัวอย่างภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีฝุ่นมาจับเพราะไฟฟ้าสถิต
ปกติ หากมองด้วยตาเปล่า อาจมองเห็นฝุ่นไม่ค่อยชัด แต่เมื่อส่องด้วยไฟฉาย L3SQ แล้ว จะช่วยให้มองเห็นฝุ่นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นมาก


ปกติ สสารต่างๆ รวมถึง ฝุ่น จะตกลงพื้นด้วยแรงโน้มถ่วง แต่เราพบฝุ่นติดอยู่บนหน้าจอโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ อยู่บ่อยๆ ทั้งๆที่หน้าจอตั้งฉากกับพื้น นั่นเป็นเพราะมีแรงไฟฟ้าสถิตบนหน้าจอดูดฝุ่นให้ไปติดนั่นเอง
ในห้องแอร์ชาวเวอร์ ก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เกิดไฟฟ้าสถิตได้ง่าย เพราะมีลมเป่าออกมาเสียดสีกับชุดและฝุ่น ทำให้ฝุ่นที่โดนลมหลุดออกไปแล้ว อาจโดนดูดกลับเข้ามาติดชุดอีกได้
ป้องกันฝุ่น
ดังนั้น เราสามารถแก้ปัญหาโดยการ ติด IVY Catcher ไว้ในผนังห้องแอร์ชาวเวอร์
แอร์ชาวเวอร์ แผ่นกาวดักฝุ่นในห้องแอร์ชาวเวอร์

ช่วยป้องกันมิให้ฝุ่นกลับมาติดซ้ำ ทั้งยังช่วยให้เราได้รู้ว่ามีฝุ่นประเภทไหนติดมาบนตัวพนักงานบ้าง

หรือใช้แอร์ชาวเวอร์ที่ติดเครื่องกำจัดไฟฟ้าสถิต(Ionizer)

จะช่วยป้องกันมิให้ฝุ่นกลับมาติดซ้ำได้

ซึ่งหลักการของ Ionizer ก็คือ การปล่อย ไอออน (อะตอมที่มีประจุไฟฟ้าไม่เป็นกลาง) ออกมา เพื่อไปปรับให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัตถุให้กลายเป็นกลาง ซึ่งก็คือ ภาวะไฟฟ้าสถิตก็จะหายไปนั่นเอง

เครื่องกำจัดไฟฟ้าสถิต

air shower
แต่ข้อควรระวังในการเลือก Ionizer คือ หากใช้ Ionizer ที่มีพัดลมในตัว พัดลมนั้นอาจเป็นตัวสร้างฝุ่นก็เป็นได้ ดังนั้น เราจึงใช้ Ionizer ที่บริษัทเราเป็นผู้คิดค้นขึ้น ซึ่งIonizer ของเรานี้ไม่มีพัดลมในตัว ต้องอาศัยลมจากแอร์ชาวเวอร์ ซึ่งเราสามารถมั่นใจได้ว่าลมที่ออกมาจากแอร์ชาวเวอร์นี้สะอาดปราศจากฝุ่น เพราะภายในแอร์ชาวเวอร์มีฟิลเตอร์กรองฝุ่นอยู่ภายใน

※ลิงค์เกี่ยวข้อง※

> ผลการทดลอง การสลายไฟฟ้าสถิตในห้อง Air Shower


นอกจากนี้ วิธีป้องกันฝุ่นไม่ให้มาติดชิ้นงานเพราะไฟฟ้าสถิตยังมีอีกวิธี คือ การลดฝุ่นในอากาศ!!

หากในอากาศไม่มีฝุ่น แม้ชิ้นงานจะเกิดไฟฟ้าสถิต ก็จะไม่มีฝุ่นมาติดได้

วิธีการลดฝุ่นในอากาศที่ได้ผลดีที่สุด คือ การทำผนังล้อมรอบ แล้วติด ชุดพัดลมกรองฝุ่น (FFU) เพื่อกรองฝุ่นออกจากอากาศ และป้อนอากาศสะอาดเข้าไปในบริเวณนั้น ให้เป็นความดันบวก (Positive Pressure)
แล้วฝุ่นในอากาศก็จะถูกพาออกมาทางช่องระบายลม หรือ Damper
  พัดลมจ่ายอากาศสะอาด

ชุดจ่ายอากาศสะอาด
Damper ระบายอากาศแบบต่างๆ

        

นอกจากนี้ เรายังมีพาร์ทิชั่นฟอกอากาศ สำหรับกรองสิ่งสกปรกออกจากอากาศก่อนจะป้อนเข้าสู่บริเวณที่ต้องระวังฝุ่นได้
เหมาะสำหรับติดตั้งไว้ในห้องคลีนรูม หรือห้องตรวจโรค, เตียงผู้ป่วยในคลินิกหรือโรงพยาบาล

เครื่องฟอกอากาศสำหรับโรงพยาบาล เครื่องกรองฝุ่น Clean Partition

ตรวจดูฝุ่นภายในห้องคลีนรูมด้วยอุปกรณ์ของซีเอสซี!!



E-mail: sale1@csc-biz.com
Tel: 081-347-8037, 086-031-9898
ตัวอย่างอุปกรณ์ลดฝุ่นในห้องคลีนรูม

return to top